บริษัท สินทรัพย์ เมทัล จำกัด
159/13 ซอยวิภาวดีรังสิต 62 แยก 1 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

Email: sinsub.info@gmail.com
Tel: 02-551-1162, 02-973-5035
Mobile: 086-325-4206, 086-325-4208

มาทำความรู้จักสแตนเลสในทุกแง่ทุกมุม

สเตนเลส (Stainless) คืออะไร

สเตนเลส หรือตามศัพท์บัญญัติเรียกว่า เหล็กกล้าไร้สนิม เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำ(น้อยกว่า 2%)ของน้ำหนัก มีส่วนผสมของโครเมียม อย่างน้อย 10.5% กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.1903 เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบว่า การเติมนิเกิล โมบิดินัม ไททาเนียม ไนโอเนียม หรือโลหะอื่นแตกต่างกันไปตามชนิด ของคุณสมบัติเชิงกล และการใช้ลงในเหล็กกล้าธรรมดา ทำให้เหล็กกล้ามีความต้านทานการเกิดสนิมได้

ประเภทสเตนเลส

คนโดยทั่วไปจะไม่ทราบว่าสเตนเลสมีกี่ประเภท และมักจะมีการเข้าใจผิดว่าสเตนเลสแท้ต้องแม่เหล็กดูดไม่ติด แต่จริงๆแล้วการที่แม่เหล็กจะดูดติดหรือไม่ติดนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของสเตนเลส สเตนเลสแบ่งออกเป็นกลุ่มพื้นฐาน ได้ 5 กลุ่มคือ ออสเทนนิติค, เฟอริติค, ดูเพล็กซ์, มาร์เทนซิติค และ กลุ่มเพิ่มความแข็งโดยวิธีการตกผลึก

ออสเตนิติก (Austenitic)
แม่เหล็ดดูดไม่ติด นอกจากส่วนผสมของโครเมียม 18%แล้ว ยังมีนิเกิลที่ช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนอีกด้วย ชนิดออสเตนิติกเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางมากที่สุด ในบรรดาสเตนเลสด้วยกัน ส่วนออสเตนิติกที่มีโครเมียมผสมอยู่สูง 20% ถึง 25% และนิกเกิล 1%ถึง 20% จะสามารถทนการเกิดออกซิไดซ์ได้ที่อุณหภูมิสูง ซึ่งใช้ในส่วนประกอบของเตาหลอม ท่อนำความร้อน และแผ่นกันความาร้อนในเครื่องยนต์ จะเรียกว่า เหล็กกล้าไร้สนิม ชนิดทนความร้อน (Heat Resisting Steel)

เฟอร์ริติก (Ferritic)
แม่เหล็กดูดติด มีส่วนผสมของคาร์บอนต่ำ และมีโครเมียมเป็นส่วนผสมหลัก คือประมาณ 13% หรือ 17%

เกรดมาร์เทนซิติก (Martensitic)
แม่เหล็กดูดติด โดยทั่วไปจะมีโครเมียมผสมอยู่ 12%และมีส่วนผสมของคาร์บอนในระดับปานกลาง มักนำไปใช้ทำส้อม มีด เครื่องมือตัด และเครื่องมือวิศวกรอื่นๆ ซึ่งต้องการคุณสมบัติเด่นในด้าน การต้านทานการสึกกร่อน และ ความแข็งแรงทนทาน

ดูเพล็กซ์ (Duplex)
แม่เหล็กดูดติด มีโครงสร้างผสมระหว่างเฟอร์ไรต์และออสเตไนต์ มีโครเมียมผสมอยู่ประมาณ 18-28% และนิเกิล 4.5-8% เหล็กชนิดนี้มักถูกนำไปใช้งานที่มีคลอรีนสูงเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting corrosion) และช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน ที่เป็นรอยร้าวอันเนื่องมาจากแรงกดดัน (Stress corrosion cracking resistance)

เหล็กกล้าชุบแข็งแบบตกผลึก (Precipitation Hardening Steel)
มีโครเมียมผสมอยู่ 17 % และมีนิเกิล ทองแดง และไนโอเบียมผสมอยู่ด้วย เนื่องจากเหล็กชนิดนี้สามารถชุบแข็งได้ในคราวเดียว จึงเหมาะสำหรับทำแกน ปั้ม หัววาล์ว และส่วนประกอบของอากาศยาน

สเตนเลส สตีล ที่นิยมใช้ทั่วไปคือ ออสเตนิก และเฟอร์ริติก ซึ่งคิดเป็น 95%ของเหล็กกล้าไร้สนิม ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

ข้อควรระวัง : ลักษณะภายนอกของสเตนเลสแล้วเกือบทุกเกรดล้วนคล้ายคลึงทั้งนี้แล้ว  ยังมีสแตนเลสเกรดต่ำที่มีโอกาสของการขึ้นสนิมได้สูงอีกเช่นสแตนเลสเบอร์ 201เป็นต้น  ดังนั้นควรที่จะเลือกซื้อต้องดูร้าน หรือตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับมาตรฐาน และมีใบรับประกันคุณภาพ ไม่เช่นนั้นอาจจะเสียใจได้ในภายหลัง

ผิวสเตนเลสและการขัดผิดสเตนเลส

ชื่อผิว ลักษณะ และวิธีการขัดผิว
BA เป็นผิวสเตนเลสแบบมันเงา มีความสะท้อนแสง 54%
2D ผิวด้านไม่เงา มีความสะท้อนแสง 13% ผลิตโดยวิธีการรีดเย็นจากโรงงาน ตามด้วยการอบอ่อน และขจัดคราบออกไซด์ออก
2B ลักษณะผิวจะเงาขึ้นเล็กน้อยจากผิว 2D มีความสะท้อนแสง 22% ในเกรดออสเทนนิติค(304, 316) และ 46% ในเกรดเฟอร์ริติก (410, 430)
No.4 เป็นผิวที่มีการขัดด้วยกระดาษทราย เบอร์ 150-180
No.5 ผิวขัด No.4 ที่ผ่านเครื่องปรับผิว (skin pass)
No.6 ผิวขัดด้วยวัสดุขัดเบอร์ 200 – 300
No.7 ผิวขัดด้วยวัสดุขัดประเภทผ้าสักหลาด (Buffing)
No.8 ขัดผิวให้มีความเงาเหมือนกระจก(Mirror Finish) ผ่านการขัดด้วยวัสดุขัดประเภทสำลี หรือผ้าสักหลาด
HL ขัดผิวอย่างละเอียดด้วยกระดาษทรายให้มีรอยขีดเป็นเส้นต่อเนื่องคล้ายเส้นผม(HAIR LINE)

การขัดผิวสเตนเลสให้ได้ผิวที่เหมาะแก่การใช้งานนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา  เช่นเดียวกันโดยวิธีการขัดที่นิยมใช้ ได้แก่

การขัดผิวด้วยกระบวนการเชิงกล (Mechanical Polishing)

>> นิยมใช้กับสเตนเลสที่เป็นแผ่นหนา หรือสเตนเลสในลักษณะเป็นม้วน (coil)

การขัดผิวด้วยกระบวนการทางเคมี (Chemical Polishing)

>> นิยมใช้กับชิ้นงานสเตนเลสขนาดเล็ก และบาง เช่น สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) ซึ่งไม่เหมาะที่จะขัดด้วยกระบวนการขัดเชิงกล

การขัดผิวด้วยกระบวนการทางไฟฟ้า ( Electro Polishing)

>> นิยมใช้กับชิ้นงานสเตนเลสที่ต้องการความละเอียด และความสะอาดของผิวสูง เช่น อุปกรณ์ สำหรับผลิตยา เครื่องสำอาง
หมาย เหตุ “L” Grades แสดง ถึงสเตนเลสนั้นมีคาร์บอนผสมอยู่น้อย (Low Carbon) ซึ่ง L เกรด จะเพิ่มความต้านทานพิเศษของการกัดกร่อนตามขอบเกรน แม้ผ่านการเชื่อมมาแล้ว แต่สเตนเลสชนิด L เกรด ราคาจะสูงกว่าชนิดธรรมดา เช่น 304L, 316L เป็นต้น

ประโยชน์ของสเตนเลสและการนำไปใช้

การเลือกใช้วัสดุในการประกอบชิ้นงานสำหรับผู้ประกอบการ ผู้ออกแบบหรือโปรดักซ์ดีไซน์ หรือแม้กระทั่งการนำวัสดุมา ใช้ใน บ้าน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนจะพิจารณาทั้งข้อดีและข้อเสียของวัสดุนั้นๆ ลองมาพิจารณาดูกันว่าสเตนเลสดีอย่างไร

ทนทานต่อการกัดกร่อน
สเตนเลสทุกตระกูลทนทานต่อการกัดกร่อน แต่จะแตกต่างกันไปตามส่วนผสมของโลหะ เช่น เกรดที่มีโลหะผสม ไม่สูง สามารถต้านทาน การกัดกร่อนในบรรยากาศทั่วไป ในขณะที่เกรดที่มีโลหะผสมสูงสามารถต้านทานการกัดกร่อน ในกรด ด่าง สารละลาย บรรยากาศคลอไรด์ ได้เกือบทั้งหมด

ความต้านทานต่ออุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ
สเตนเลสบางเกรดสามารถทนความร้อนหรือ/และความเย็น รวมถึงการเปลี่ยนอุณหภูมิโดยฉับพลันได้ดี และด้วยคุณสมบัติพิเศษในการทนไฟ ทำให้มีการนำสเตนเลสไปใช้ในอุตสาหกรรมขนส่ง อุตสาหกรรม    ปิโตรเคมี อย่างแพร่หลาย

ง่ายต่องานประกอบ หรือแปรรูป
สเตนเลสส่วนใหญ่สามารถ ตัด เชื่อม ขึ้นรูป ตบแต่งทางกล ลากขึ้นรูป ขึ้นรูปนูนต่ำได้ง่าย ด้วยรูปร่าง สมบัติ และลักษณะต่างๆของสเตนเลสช่วยให้ ผู้ผลิตสามารถนำสเตนเลสไปประกอบกับวัสดุอื่นๆได้ง่าย

ความทนทาน
คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของสเตนเลสคือความแข็งแกร่งทนทาน สเตนเลสสามารถเพิ่มความแข็งได้ด้วยการขึ้นรูปเย็น ซึ่งใช้เพื่อออกแบบงาน โดยลดความหนา น้ำหนักและราคา สเตนเลสบางเกรดอาจใช้ในงานที่ทนความร้อนและยังคงความ ทนทานสูง

ความสวยงาม
ด้วยรูปทรงและพื้นผิวที่หลากหลายรูปแบบที่สวยงาม ทำความสะอาดได้ง่าย ปัจจุบันสเตนเลสมีสีให้เลือกมากมายด้วย กรรมวิธีชุบเคลือบผิวด้วยเคมี ไฟฟ้าสามารถทำให้สเตนเลสมีผิวสีทอง บรอนซ์ เขียว เงิน และสีดำ ทำให้สามารถเลือก ประยุกต์ใช้สเตนเลสได้อย่างมากมาย นอกจากนี้ ความเงางามของ สเตนเลสในอ่างล้างจาน อุปกรณ์ประกอบอาหาร หรือ เฟอร์นิเจอร์ทำให้บ้านดูสะอาดและน่าอยู่อีกด้วย

ความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ
การทำความสะอาด การดูแลรักษาสเตนเลส และมีความเป็นกลางสูงจึงไม่ดูดซึมรสใดๆ เป็นเหตุผลสำคัญที่สเตนเลสถูกนำมาใช้งานในงานโรง พยาบาล เครื่องครัว ด้านโภชนาการและด้านเภสัชกรรม เนื่องจากความทนทาน ต้องการการดูแลรักษาน้อย และค่าใช่จ่ายต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาการใช้ งาน การใช้อุปกรณ์เครื่องครัวสเตนเลสใน บ้านเรือนให้ความรู้สึกถึงความปลอดภัยแก่ผู้ใช้

ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สเตนเลสเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ และกว่า ของวัตถุดีที่ใช้ในการผลิตมาจากเศษเหล็ก

ประโยชน์และลัษณะการนำสเตนเลสไปใช้งาน

Grade ลักษณะการนำไปใช้งาน อุตสาหกรรมที่นำไปใช้ 
201 -ทำพื้นรถเข็นต่างๆ
-ทำเฟอร์นิเจอร์
-ทำแผง และอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ
-ถังเก็บ,ถังแก๊ส
-กันชนรถทุกประเภท
-ท่อพักท่อไอเสีย
-ลายประดับรั้ว,ราวประเภทต่างๆ
-อุตสาหกรรมรถเข็น
-อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
-อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการขนส่ง
-อุตสาหกรรมแก๊ส
-อุตสาหกรรมประกอบรถบรรทุก
-อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์
-อุตสาหกรรมทำรั้ว,ราวประตู,หน้าต่างๆ
(ใช้งานภายใน)
202 -ใกล้เคียงกับเกรด 201
แต่มีความต้านทานการกัดกร่อนได้ดีกว่า
เหมือนเกรด 201
304 -ตู้เย็น,เครื่องทำความเย็น
-ทำเฟอร์นิเจอร์สนาม,เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้งานภายนอก
-ถัง/แทงค์ บรรจุน้ำ
-เครื่องใช้เกี่ยวกับครัวเรือน เช่น เตา -โต๊ะ : อุปกรณ์ประกอบอาหาร
-เครื่องมือเวชภัณฑ์ ในโรงพยาบาล
-เครื่องล้างจาน,อ่างล้างจาน,ภาชนะหุงต้ม
-อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเย็น
-อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
-อุตสาหกรรมผลิตถังน้ำ
-อุตสาหกรรมผลิต/สั่งทำเครื่องครัวอุปกรณ์,อุปกรณ์ต่างๆ
-อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์
-อุตสาหกรรมเครื่องใช้ในครัวเรือน/อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
316 -โดยทั่วไปมีการใช้งานเหมือนเกรด 304ซึ่งมีลักษณะการใช้งานที่กว้างกว่าเกรด 304คือ
-งานตกแต่งอาคาร,งานสถาปัตยกรรม
-ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม
-ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ ,เวชภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในโรงพยาบาล
-ผลิตอุปกรณ์ที่ใช้อุตสาหกรรมต่อเรือ
-อุตสาหกรรมตกแต่งภายใน
-อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม
-อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
-อุตสาหกรรมการต่อเรือ
 410,430  -ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์,สินค้าตกแต่งภายในบ้าน,อาคาร
-เครื่องใช้,เครื่องมือบนโต๊ะอาหาร,มีด,ช้อน-ส้อม
-อุปกรณ์ ดูดฝุ่น,ท่อดูดควัน,ท่อดัก
-ใช้ทำส่วนประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น ท่อพัก,ท่อไอเสีย,ถังน้ำมัน
-อุตสาหกรรมตกแต่งภายใน
-อุตสาหกรรมเครื่องใช้ในครัวเรือน
-อุตสาหกรรมผลิตท่อต่างๆ
-อุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนรถยนต์

วิธีการทำความสะอาดสเตนเลส

รอยนิ้วมือ คราบทั่วไป ฝุ่น
วิธีทำความสะอาด
ล้างด้วยสบู่ ผงซักฟอก หรือสารทำละลาย เช่น แอลกอฮอล์ หรือ อะซีโตน ( Acetone) แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นจนสะอาด จากนั้นเช็ดให้แห้ง

น้ำมัน คราบน้ำมัน
วิธีทำความสะอาด
ล้างด้วยสารละลายไฮโดรคาร์บอน / ออร์กานิก (เช่น แอลกอฮอล์) แล้วล้างออกด้วยสบู่ /ผงซักฟอกอย่างอ่อน และน้ำ ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง แนะนำให้จุ่มชิ้นงานให้โชกก่อนล้างในน้ำสบู่อุ่น ๆ

รอยเปื้อน : สี
วิธีทำความสะอาด
ล้างออกด้วยสารละลายสี ใช้แปลงไนล่อนนุ่ม ๆ ขัดออก แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็คให้แห้ง

เปลี่ยนสีเนื่องจากความร้อน
วิธีทำความสะอาด
ทาครีม (เช่น บรัสโซ) ลงบนแผ่นขัดที่ไม่ได้ทำจากเหล็ก แล้วขัดคราบที่ติดบนสแตนเลสออก ความร้อนขัดไปในทิศทางเดียวกันกับพื้นผิว ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง

ฉลากและสติ๊กเกอร์
วิธีทำความสะอาด : แช่ในน้ำสบู่ร้อนๆ ก่อนจะลอกฉลากและทำความสะอาดกาวที่ติดอยู่ออกด้วยเมทิลแอลกอฮอล์ ( Methylated Spirit) หรือน้ำมันเบนซิน จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสบู่หรือน้ำผสมผงซักฟอก ล้างออกอีกทีด้วยน้ำร้อน เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาดเนื้อนุ่ม

รอยเปื้อน : รอยน้ำ ตะกรัน
วิธีทำความสะอาด : รอยที่เห็นชัดสามารถลดเลือนได้ด้วยการแช่ ไว้ในน้ำส้มสายชู 25% หรือกรดไนตริก 15% จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด ตามด้วยน้ำสบู่หรือน้ำผสมผงซักฟอก และล้างออกอีกครั้งให้สะอาดด้วยน้ำร้อน เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาดเนื้อนุ่ม

รอยเปื้อน : สารแทนนิน จากชาหรือกาแฟ
วิธีทำความสะอาด : ล้างด้วยน้ำร้อนผสมโซดาซักผ้า (โซเดียมไบคาร์บอเนต) จากนั้นล้างตามด้วยน้ำสบู่หรือน้ำผสมผงซักฟอก ล้างออกให้สะอาดด้วยน้ำร้อน เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาดเนื้อนุ่ม

รอยเปื้อน : คราบสนิม
วิธีทำความสะอาด : แช่ส่วนที่ขึ้นสนิมในน้ำอุ่นผสมสารละลาดกรด ไนตริกในสัดส่วน 9:1 เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือทาพื้นผิวที่ขึ้นสนิมด้วยสารละลายกรดออกซาลิก ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็ดให้แห้งหรือ ในกรณีของคราบสนิมที่ติดทนและยากต่อการกำจัด อาจต้องใช้เครื่องจักรช่วยขัดทำความสะอาด

คำแนะนำในการดูแลรักษาสเตนเลส

♥ หากไม่ได้ทำความสะอาดเป็นประจำ ควรทำความสะอาดทันทีที่พบรอยเปื้อนและฝุ่น

♥ การเก็บรักษาไม่ควรใกล้แหล่งอับชื้นเป็นเวลานานๆ หรือวางใกล้กับสิ่งที่ให้เกิดสนิมได้โดยง่าย

♥ ในการทำความสะอาดควรเริ่มจากวิธีและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนที่สุดก่อน เสมอและทดลองทำความสะอาดเป็นบริเวณเล็กๆ ก่อนเพื่อให้มั่นใจถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น

♥ ใช้น้ำอุ่นเพื่อช่วยขจัดความมันของน้ำมันหรือจาระบี

♥ ในขั้นตอนสุดท้ายของการทำความสะอาด ให้ใช้น้ำสะอาดล้าง และเช็ดให้แห้งด้วย ผ้าเนื้อนุ่มๆ

♥ เมื่อใช้กรดทำความสะอาดสแตนเลส ควรใช้มาตรการป้องกัน และระมัดระวังอย่างเหมาะสม

♥ หากเป็นเครื่องครัว ควรล้างเครื่องครัวที่ทำจากสแตนเลสทันทีที่เตรียมอาหารเสร็จเสมอ

♥ หลีกเลี่ยงรอยเปื้อนที่เกิดจากเหล็กโดยไม่ใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดที่ทำจาก โลหะ หรืออุปกรณ์ที่เคยนำไปทำความสะอาดชิ้นส่วนที่ผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon Steel) มาก่อน

♥ กรณีที่ไม่แน่ใจในวิธีทำความสะอาดหรือพบรอยเปื้อนที่ไม่สามารถขจัดออกได้ ให้ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

ถาม-ตอบ เรื่องสเตนเลส

Q : จริงไหมที่ สเตนเลสที่ดีแม่เหล็กดูดไม่ติด?
A: ไม่จริง สเตนเลสมีหลายชนิด คุณสมบัติแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับปริมาณของโครเมียม และนิกเกิลที่ผสมอยู่ในเนื้อสเตนเลส

Q : ทำไมสเตนเลสต้องมีหลาย เกรด?
A : เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน เช่น สเตนเลสที่มีความแข็งต่ำก็สามารถนำไปขึ้นรูปได้ สเตนเลสที่มีความแข็งมาก ก็นำไปทำมีด สเตนเลสทุกชนิดทนการกัดกร่อน แต่ก็มีบางชนิดที่มีความสามารถในการต้านทานการกัดกร่อนได้ดีพิเศษ

Q : สเตนเลสไม่มีโอกาสที่จะ เป็นสนิมได้เลย?
A : ในสภาพการใช้งานที่ขาดการทำความสะอาด หรือมีปัญหาการผลิตในระหว่างการแปรรูป และการเชื่อม อาจจะทำให้สเตนเลส มีสนิมเกิดขึ้นได้

Q : การใช้สก๊อตไบรท์ขจัด คราบอาหารบนภาชนะ จะทำให้ความหนาลดลงหรือไม่?
A : ความหนาไม่ลดลง เพียงแต่จะทำให้ผิวของภาชนะเป็นรอยขีดข่วน

Q : อาหารชนิดใดที่ทำ ปฏิกิริยากับสเตนเลสบ้าง?
A : อาหารโดยทั่วไปไม่ทำปฏิกิริยากับสเตนเลส เว้นแต่ว่าอาหารมีรสเค็ม เช่น น้ำปลา หรือน้ำส้มสายชูชนิดความเข้มข้นสูง ซึ่งทำให้ความต้านทานการกัดกร่อนของสเตนเลสลดลง

Q : ถังบรรจุที่ทำจากสเตนเลส เหมาะสมสำหรับการบรรจุ น้ำผลไม้ หรือไวน์หรือไม่?
A : ความเข้มข้นของกรด Tartaric, Acetic, Tannic, Lactic และ Citric ในน้ำผลไม้ หรือ ไวน์ ไม่ทำให้สเตนเลสเกรด 304 หรือ 316 ผุกร่อน แต่อย่างไรก็ตาม เกรด 304 จะสามารถต้านทานการผุกร่อนได้ก็ต่อเมื่อจุ่มจนท่วมทั้งหมดในสารละลายที่มี SO2 น้อยกว่า 700 ppm ซึ่ง SO2 ในของเหลวจะอยู่ในสถานะที่เป็นไอ

Q : การเชื่อมท่อสเตนเลสเกรด 2xx กับเกรด 304 ควรใช้ลวดเชื่อมอะไร?
A : ใช้ลวดเชื่อมเกรด 308 หรือ 309

Q : การเชื่อมท่อสเตนเลสเกรด 316 ใช้ลวดเชื่อม 304 ได้หรือไม่?
A : ส่วนใหญ่ลวดเชื่อมที่ใช้เชื่อมสเตนเลสเกรด 304 จะใช้ลวดเชื่อมเกรด 308 ถ้าเชื่อมสเตนเลสเกรด 316 ใช้ลวดเชื่อมเกรด 316 หรือ 316L แต่ถ้าใช้ลวดเชื่อมที่ใช้เชื่อมสเตนเลสเกรด 304 มาใช้กับสเตนเลสเกรด 316 คุณสมบัติของแนวเชื่อม จะลดลง เนื่องจากสเตนเลสเกรด

Q : ใช้โพลีคาร์บอนเนตกับ โครงสเตนเลสร่วมกัน จำเป็นต้องใช้สกรูสเตนเลสหรือไม่?
A : ถ้าจะให้ใช้ดี คงทน ต้องใช้สกรูที่ทำจากสเตนเลสเหมือนกัน เพราะวัสดุต่างชนิดกัน จะเกิดการถ่ายเทศักย์ไฟฟ้าทำให้เกิด การผุกร่อนเร็วขึ้น

Q : หินเจียร์ที่ใช้ในทุก วันนี้มีกี่ชนิด และหินเจียร์แต่ละชนิดมีไว้ใช้ให้เหมาะสมกับงานประเภทใด?
A : หินเจียร์ในท้องตลาดทุกวันนี้มีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่

1. หินเจียร์สำหรับงานสเตนเลส
2. หินเจียร์สำหรับงานโลหะทั่วไป

Q : หินเจียร์ทั้ง 2 ประเภท สามารถใช้สลับชนิดกันได้หรือไม่?
A : ได้ แต่การเอาหินเจียร์ที่ใช้สำหรับงานโลหะทั่วไป ไปใช้กับงานสเตนเลสจะมีผลเสียดังนี้

1. ใบเจียร์ทั่วไปในท้องตลาดจะทำปฏิกิริยากับเนื้อสเตนเลส และทำให้เกิดสนิมหลังจากการขัดเจียแล้ว สำหรับลูกค้าที่รับงานประมูลจะต้องระวังให้มากในส่วนนี้ เพราะถ้างานเกิดสนิมขึ้นหลัง
2. สเตนเลสมีความแข็งสูงกว่าโลหะทั่วไปค่อนข้างมาก ดังนั้นการนำหินเจียร์สำหรับโลหะทั่วไปมาใช้กับสเตนเลส จึงต้องใช้แรงในขณะเจียร์มากกกว่าปกติ ทำให้สิ้นเปลืองมากกว่า อีกทั้งอาจทำให้เกิดการแตกหัก กระเด็นเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานได้

Q : เราจะรู้ได้อย่างไรว่า หินเจียร์ ที่เราใช้งานในชีวิตประจำวันเหมาะสมแล้วหรือไม่?
A : เบื้องต้นต้องดูจากชนิดของสี ซึ่งโดยปกติสีแดง และสีเขียว มีไว้ใช้สำหรับงานสเตนเลส ส่วนสีดำมีไว้ใช้สำหรับงานโลหะทั่วไป แต่ทว่าใบเจียร์ในท้องตลาดทั่วไปก็สามารถผสมสีต่างๆ ที่ต้องการได้ ดังนั้นหลักเกณฑ์การดูจากสีสามารถใช้ดูได้จากสินค้าที่ผลิตจากค่ายผู้ผลิต ที่มีคุณภาพไว้วางใจได้เท่านั้น

Q : ถ้ามีปัญหาเรื่อง สนิมสเตนเลส สเตนเลสคุณภาพต่ำ หรือต้องการตรวจเช็คเกรดสเตนเลส จะติดต่อได้ที่ใด?
A : สามารถติดต่อมายังเราซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา และบริการตรวจคุณภาพเกรดสเตนเลส ด้วยเครื่องมือตรวจสอบที่ทันสมัยทราบผลทันที